เครือข่ายอาชีวะฯ ถามหาทิศทางการศึกษาไทยจะไปทางใด!!!
วันนี้คณะรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะนายกซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศ ได้ตั้งเป้าหมายหรือมีนโยบายในการยกระดับการศึกษาของประเทศให้เท่าทันประเทศที่เจริญหรือมีการเอาจริงเอาจังการยกระดับการศึกษาการสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาของประชาชนมากแค่ไหน
มีแนวทางที่จะสร้างบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถเพื่อพัฒนาประเทศในอนาคตได้อย่างไร ตราบใดก็ตามถ้าผู้นำของประเทศลืมเรื่องการศึกษาที่เป็นต้นตอหรือเป็นปัญหาเรื่องของปากท้องและความยากจนถ้าประชากรของประเทศมีการศึกษาดีได้รับการพัฒนาก็จะทำให้ประชาชนในประเทศสามารถประกอบอาชีพที่มีรายได้สูงขึ้น
มีนักวิชาการหลายๆท่านได้ยกประเด็นของผู้นำต่างชาติ เช่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศเวียดนามซึ่งอยู่ใกล้ไทยเป็นต้น ว่าในการสร้างชาตินั้นเบื้องต้นต้องมีการพัฒนาทรัพยากรคน โดยการพัฒนาการศึกษา ผู้นำเวียดนามประกาศการศึกษาต้องมาก่อน ไม่ได้เอาเศรษฐกิจมาก่อน โดยส่งเด็กเวียดนามไปเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเป็นต้นต่างกับประเทศไทยที่ไม่สามารถแก้ปัญหาการศึกษาพื้นฐานของเยาวชนให้เท่าเทียมกันได้ เพื่อที่จะให้ประเทศได้ก้าวกระโดดสู่เศรษฐกิจมูลค่าสูงของประเทศได้ เช่นผู้นำอินโดนีเซียประกาศยกระดับมหาวิทยาลัยกว่า 5000 แห่งรับนักศึกษาเข้าเรียนมากกว่าปีละ 5 ล้านคนเพราะเด็กยังเกิดเยอะ ประชากรคุณภาพมากขึ้นทุกวันการศึกษาถือเป็นพลังสร้างเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ของโลก
ขณะเดียวกันหันมามองดูประเทศไทยไม่มีทั้งปริมาณประชากรเพราะเด็กไทยเกิดน้อยลง พ่อแม่ในสังคมไทยที่เต็มไปด้วยปัญหาความขัดแย้งปัญหาสิ่งแวดล้อมปัญหายาเสพติดและปัญหาการศึกษาที่ “ไม่มีคุณภาพ” และการที่ “ประชากรขาดคุณภาพ”
เพราะการศึกษาไม่ได้รับการพัฒนาให้เท่าเทียมกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่นมาเลเซียประกาศต้องเรียนถึงมหาวิทยาลัย 70% ยกระดับพัฒนาเตรียมพร้อมอุตสาหกรรมยุคใหม่
ส่วนประเทศไทยไม่ต้องถึงขนาดสนับสนุนให้ผู้เรียนมุ่งเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยที่มีผู้เรียนเยอะเหมือนชาติอื่น ขอเพียงแค่ให้รัฐบาลไทยสนใจอย่างจริงจังแค่ยกระดับผู้เรียนให้มีความรู้ด้านวิชาชีพแค่จัดการหรือสนับสนุนระดับผู้เรียนวิชาชีพตั้งแต่ปวช. ปวส. ป.ตรี แบบเรียนฟรี
เพียงแค่นี้ก็ยังไม่ได้รับความใส่ใจหรือให้การสนับสนุนเท่าที่ควร ไม่มีพรรคการเมืองใดรัฐบาลใดที่จะหันมาสนับสนุนให้ผู้เรียนเรียนด้านวิชาชีพสูงขึ้นเพื่อสร้างกำลังคนให้พัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาประเทศชาติ