”ค.ร.อ.ท.ร่วมเสวนา กมธ.การศึกษา พร้อมยืนข้อเสนอร่าง พรบ.การศึกษาชาติ ต้องมีมาตราว่าด้วยการอาชีวศึกษา”
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร(กมธ.) ได้จัดโครงการสัมมนา“เปลี่ยนการศึกษาพลิกโฉมใหม่ให้ประเทศ” ณ ห้องประชุมสัมมนา B1-2 ชั้น B1 อาคารรัฐสภา
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้ความเข้าใจและระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาการศึกษาที่จะนำมากำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ โดยสมาชิกเครือข่ายคนรักษ์อาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย(ค.ร.อ.ท.) ได้เข้าร่วมรับฟังความเห็นการจัดเสวนาของคณะกรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร เพื่อหาแนวทางเสนอให้กมธ.ที่จัดทำร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการอาชีวศึกษา เนื่องจากร่างพรบ.การศึกษาชาติ พ.ศ...ที่จัดร่างและเสนอในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ไม่สามารถผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภานำมาบังคับใช้ได้ จึงเป็นหน้าที่ของ กมธ.ชุดปัจจุบันฯ ที่ต้องเร่งร่างแก้ไขพรบ.การศึกษาชาติฉบับใหม่ โดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เพื่อที่จะทำร่างพรบ.การศึกษาฉบับใหม่เพื่อนำเสนอต่อรัฐสภาให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
โดยในวันนี้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลจากการนำเสนอบนเวทีสัมมนาครั้งนี้ประกอบด้วยนายอภิสิทธ ิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย เจียรวนนท ์ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ ์และพระพรหมบัญฑิต (ประยูร ธมมจิตตโต) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ซึ่งได้ร่วมแลกเปลี่ยนเสนอประเด็นการศึกษาเพื่อให้เกิดขึ้นการรับฟังความเห็นอย่างครบถ้วนในช่วงเช้า และช่วงบ่ายคณะกรรมาธิการการศึกษา ได้จัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขการศึกษาของประเทศที่กำลังประสบปัญหาใหญ่อยู่ในขณะนี้และเปิดให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แสดงความคิดเห็นในเวทีการเสวนา
ด้านนายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ประธานเครือข่ายคนรักษ์อาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย(ค.ร.อ.ท.)ได้นำเสนอความเห็นในวงเสวนาต่อกรรมาธิการการศึกษาได้ฝากถึงประเด็นเดิมนั้น พรบ.การศึกษาชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 20 มีการกำหนดไว้ในกฏหมายชัดเจนว่าด้วย “การจัดการอาชีวศึกษามีการฝึกอบรมวิชาชีพให้จัดในสถานศึกษาของรัฐสถานศึกษาของเอกชนสถานประกอบการหรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” นั้นพรบ.ฉบับดังกล่าวถือว่าเป็นต้นกำเนิดที่เป็นผลดีกับการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาอย่างยิ่ง จึงได้มี พรบ.การอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 เกิดจากพรบ.การศึกษาชาติ พ.ศ. 2542
แต่ต่อมาคณะกรรมาธิการรัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้จัดทำร่างพ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ...ขึ้นใหม่ ปรากฏว่าในเนื้อหารายละเอียดตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ม.20 ไม่มีปรากฏในร่างพรบ.ใหม่ ทำให้การจัดการอาชีวศึกษามีปัญหาในอนาคตแน่นอนเพราะดูแต่ละมาตราแล้ว ที่ยืนของการอาชีวศึกษาที่จะสร้างความเข้มแข็งให้พลเมืองของชาติ ไม่ปรากฏในมาตราใดมาตราหนึ่ง
หากเป็นเช่นนี้อาจทำให้เกิดปัญหาการดำรงอยู่ของการจัดอาชีวศึกษาที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้เรียนด้านวิชาชีพซึ่งถือว่าเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศแน่นอน และอาจเกิดผลกระทบกับพรบ.การอาชีวศึกษา พ.ศ.2551 แน่นอน จึงขอเสนอประเด็นฯ การสัมมนาครั้งนี้ต่อคณะกรรมาธิการได้พิจารณาเพื่อจะกำหนดช่องทางให้ร่างพรบ.การศึกษาแห่งชาติที่จะร่างใหม่ โดยเครือข่ายฯ(ค.ร.อ.ท.) จะได้ทำหนังสือชี้แจงเหตุและผลของการดำรงอยู่และประโยชน์ของการให้ ความสำคัญของการอาชีวศึกษาของชาติในโอกาสต่อไป
นายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการอาชีวศึกษาในปัจจุบันยังไม่เป็นเอกภาพเนื่องจากการจัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)อยู่ในกฎหมายการศึกษาภาคบังคับ ส่วนในระดับปวส.และปริญญาตรี จะอยู่ในการกำกับของอุดมศึกษา ซึ่งทำให้เกิดปัญหาความไม่เป็นเอกภาพหรือการบริหารจัดการเรื่องของการศึกษาด้านวิชาชีพโดยเฉพาะ ดังนั้นตนจึงได้เสนอให้กรรมาธิการให้ความสำคัญว่าอาชีวศึกษาควรที่จะบริหารจัดการตนเองโดยเบ็ดเสร็จไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกระจายอำนาจ ที่สำคัญคือปัญหาอุปสรรคในการบริหารบุคลากรซึ่งไม่มีกฎหมายว่าด้วยการบริหารบุคลากรของตนเองอย่างไปใช้ร่วมกับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการกำหนดของกคศ. จึงเกิดปัญหาในการทำหรือเรื่องวิทยฐานะ เพราะบริบทของอาชีวศึกษาต่างกันกับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างสิ้นเชิง จึงต้องมีการระบุในร่างพรบ.การศึกษาชาติฉบับใหม่ให้มีมาตราใดมาตราหนึ่งว่าด้วยการอาชีวศึกษาเช่นเดียวกันกับพรบ.การศึกษาชาติ 2542 นายเศรษฐศิษฏ์ กล่าว
######