กรมประมงขอเชิญร่วมประกวดปลากัดสวยงาม ชิงถ้วยเกียรติยศพร้อมใบประกาศนียบัตรและเงินรางวัล ในงานมหกรรมการเกษตรและท่องเที่ยวถนนสายดอกไม้งามริมกว๊านพะเยากรมประมงขอเชิญร่วมประกวดปลากัดสวยงาม ชิงถ้วยเกียรติยศพร้อมใบประกาศนียบัตรและเงินรางวัล ในงานมหกรรมการเกษตรและท่องเที่ยวถนนสายดอกไม้งามริมกว๊านพะเยา
กรมประมง...ขอเชิญผู้สนใจร่วมประกวดปลากัดสวยงาม ชิงถ้วยเกียรติยศพร้อมใบประกาศนียบัตร และเงินรางวัลจาก ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในงานมหกรรมการเกษตรและท่องเที่ยวถนนสายดอกไม้งามริมกว๊านพะเยา พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการตำนานกว๊านพะเยา นิทรรศการปลากัดสวยงามและปลากัดป่าสายพัฒนา สวนดอกไม้ นิทรรศการด้านการเกษตรอีกมากมาย และเก็บภาพความประทับใจกับซุ้มไฟที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงามตระการตาตลอดริมถนนกว๊านพะเยา
รองอธิบดีฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า ขอเชิญชวนเกษตรกรและประชาชนผู้สนใจสมัครเข้าร่วมการประกวดได้ตามรายละเอียด QR code ด้านล่าง หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ดร.สนาม เอกวิลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โทรศัพท์ 08 5050 5358 หรือคุณธีรุตม์ อนวัชศิริวงศ์ ประธานชมรมปลากัดจังหวัดพะเยา โทรศัพท์ 09 3946 1619
นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า งานมหกรรมการเกษตรและท่องเที่ยวถนนสายดอกไม้งามริมกว๊านพะเยา โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานประมงจังหวัดพะเยา กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และจังหวัดพะเยา ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2566 - 3 มกราคม 2567 นี้ ณ ข่วงวัฒนธรรม ริมกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ภายในงานนอกจากจะมีการจัดแสดงนิทรรศการตำนานกว๊านพะเยา การจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำในกว๊านพะเยากิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ด้านต่าง ๆ การทำ Work Shop ด้านการเกษตร และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผลผลิตทางการเกษตร Fisherman Shop @ บางเขน แล้ว ยังมีการจัดประกวดปลากัดสวยงาม เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพในการผลิตพันธุ์ปลากัดสวยงามที่ดี มีคุณภาพ ตรงตามมาตรฐาน และเป็นการอนุรักษ์ปลากัดสายพันธุ์ท้องถิ่นและสายพันธุ์หายาก ตลอดจนเป็นการประชาสัมพันธ์ปลากัดสายพันธุ์ต่าง ๆ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งกำหนดจัดการประกวดระหว่างวันที่ 27 - 29 ธันวาคม 2566 ณ สนามกีฬาเทศบาลเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา สามารถสมัครได้ในวันที่ 27 ธันวาคม 2566
สำหรับการประกวดจะแบ่งออกเป็น 6 ชนิด 33 ประเภท ได้แก่
ชนิดที่ 1 : กลุ่มปลากัดครีบสั้น แบ่งเป็น 5 ประเภท
ชนิดที่ 2 : กลุ่มปลากัดครีบยาว แบ่งเป็น 4 ประเภท
ชนิดที่ 3 : กลุ่มปลากัดอื่น ๆ แบ่งเป็น 6 ประเภท
ชนิดที่ 4 : กลุ่มปลากัดอัตลักษณ์ท้องถิ่น/ดั้งเดิม แบ่งเป็น 6 ประเภท
ชนิดที่ 5 : กลุ่มปลากัดป่าดั้งเดิม แบ่งเป็น 7 ประเภท
ชนิดที่ 6 : กลุ่มปลากัดป่าพัฒนา แบ่งเป็น 5 ประเภท
รวมทั้งขนาดปลากัดที่ใช้ในการประกวด เมื่อวัดจากปากถึงปลายหาง จะต้องมีขนาดดังนี้
1. ปลากัดครีบสั้น ขนาดลำตัวไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว 3 หุน
2. ปลากัดครีบยาวและปลากัดเพศเมีย ขนาดลำตัวไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว 2 หุน
3. ปลากัดหางคู่ครีบสั้น/ยาว ขนาดลำตัวไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว 2 หุน
4. ปลากัดยักษ์ ขนาดลำตัวไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว 2 หุน
5. ปลากัดดาวรุ่งสวยงาม ขนาดลำตัวไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว 1 หุน
6. ปลากัดป่าดาวรุ่ง ขนาดลำตัวไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว 2 หุน
7. ปลากัดป่า ไม่จำกัดขนาด
โดยไฮไลต์ของงาน ร่วมค้นหา “ปลากัดป่าแก้มแดงภูกามยาว” ซึ่งมีหางกลมมนดุจกลีบดอกสารภี ดั่งดอกไม้ประจำจังหวัดพะเยา เพื่อชิงถ้วยเกียรติยศจาก ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รองอธิบดีฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า ขอเชิญชวนเกษตรกรและประชาชนผู้สนใจสมัครเข้าร่วมการประกวดได้ตามรายละเอียด QR code ด้านล่าง หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ดร.สนาม เอกวิลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โทรศัพท์ 08 5050 5358 หรือคุณธีรุตม์ อนวัชศิริวงศ์ ประธานชมรมปลากัดจังหวัดพะเยา โทรศัพท์ 09 3946 1619