เปิดประตูสู่ยุคใหม่ของบริการทางการเงิน ด้วยการธนาคารแบบ “Hyper Personalised”

   เมื่อ : 19 ต.ค. 2566

● ประโยชน์และข้อได้เปรียบต่างๆ ของเทคโนโลยี เช่น Big Data และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) จะทำให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถยกระดับ สร้างประสบการณ์การธนาคารแบบตอบโจทย์ “เข้าใจ ตรงใจ และเจาะใจ” (Hyper-Personalised Banking) ให้กับลูกค้า

● มีความคาดหวังต่อสถาบันทางการเงินต่างๆ ในการต่อยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีล่าสุด เพื่อส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ไร้รอยต่อให้กับลูกค้าได้

● แม้บางครั้งลูกค้าอาจต้องการการปฎิสัมพันธ์กับมนุษย์ แต่ก็ยังต้องการความสะดวกสบาย บริการเทคโนโลยี และบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคลมากขึ้น

แมมบู (Mambu) แพลตฟอร์มธนาคารบนคลาวด์ SaaS ชั้นนำ แนะผู้ให้บริการทางการเงินยกระดับโครงสร้างหลักของบริการด้านการธนาคารรุ่นต่อไป สู่ประสบการณ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแบบ “เข้าใจ ตรงใจ และเจาะใจ” ได้อย่างเหนือขั้น (Hyper-Personalised Banking Experience) เพื่อลูกค้าซึ่งมีแนวโน้มต้องการประสบการณ์เฉพาะบุคคลมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสถาบันทางการเงินที่มีความเข้าใจ สามารถคาดเดา พร้อมรับมือความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง จะได้รับการยอมรับว่าเป็น “ผู้ดำเนินธุรกิจการเงินที่เข้าถึงความรู้สึกของลูกค้า” (Empathetic Banking) ในตลาดต่อไป

 

คุณวรเทพ ยรรยงกุล ผู้จัดการแมมบูประจำประเทศไทย กล่าวว่า “การธนาคารที่ตอบโจทย์ความต้องการแบบเข้าใจ ตรงใจ และเจาะใจลูกค้า คือหัวใจหลักของแนวทางการดำเนินงานที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลธุรกรรมของลูกค้าในแต่ละวัน เพื่อสร้างชุดข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าที่สามารถนำไปต่อยอดได้จริง ด้วยการใช้หลักวิทยาการข้อมูล (Data Science) และ AI เฉพาะทาง โดยหลักการปฏิบัตินี้จะสามารถนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการได้อย่างแท้จริง”

“ผู้บริโภคเริ่มมีความคุ้นชินกับประโยชน์และข้อได้เปรียบต่างๆ ของเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน และคาดหวังให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถนำนวัตกรรมเทคโนโลยีล่าสุดมาต่อยอด เพื่อส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ไร้รอยต่อให้กับลูกค้าได้”

 

แมมบูกล่าวอีกว่า “แนวคิดธุรกิจการเงินที่เข้าถึงความรู้สึกของลูกค้า (Empathetic Banking) จะผลักดันให้ธุรกิจภาคการเงินเข้าหาลูกค้าด้วยมุมมอง และการปฏิบัติต่อลูกค้าในฐานะปัจเจกบุคคลมากขึ้น”

“ต่อไป จะไม่ใช่แค่การนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์เฉพาะแต่ละบุคคลเพียงเท่านั้น แต่เป็นการเจาะลึกลงไปถึงจิตใจและความปรารถนาในฐานะมนุษย์เลยทีเดียว” คุณเดลล์กล่าว

 

“ในการสร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคลในการธนาคารแบบดั้งเดิมมักเริ่มต้นจากการสร้างความสัมพันธ์เฉพาะบุคคลกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นในกรณีการจำนองเพื่อซื้อบ้านหลังแรก หรือการวางแผนกองทุนเพื่อการเกษียณ”

“ในแวดวงการธนาคารดิจิทัล มักมีการนำเทคโนโลยีอย่าง AI Machine Learning หรือ Data Analytics มาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายความต้องการของผู้บริโภค ด้วยการลงแรงที่น้อยลง แม้ว่าเทคโนโลยีจะยังไม่สามารถลอกเลียนประสบการณ์ความสัมพันธ์เฉพาะบุคคลให้กับลูกค้าได้ แต่ท้ายที่สุด ความต้องการความสะดวกสบายก็ยังมีความสำคัญกับลูกค้ามากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับพนักงาน โดยลูกค้าจำนวนมากก็ยังคงต้องการเพียงแค่การที่สามารถกดปุ่มเพียงปุ่มเดียวเพื่อแก้ไขปัญหาของเขา”

 

ใช้ Data Science เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์

เช่นเดียวกันกับการสร้างผลิตภัณฑ์อื่นๆ การสร้างผลิตภัณฑ์การเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแบบเจาะใจสามารถมาจากส่วนประกอบปลีกย่อย ด้วยการใช้ข้อมูลอินไซต์ที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าผู้บริโภคจะได้สิ่งที่ต้องการอย่างแท้จริง

“เราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือภาคการธนาคารเอง ต่างก็รู้ดีว่าข้อมูลถือเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญอย่างมาก โดยผู้บริโภคเองก็คาดหวังว่า เมื่อยินยอมให้ข้อมูลแล้ว ก็จะได้รับบริการในระดับที่เฉพาะตัวมากขึ้นกว่าเดิม”

เทคโนโลยีอย่าง Open AI และโซลูชันที่ประมวลผลบนคลาวด์ (Cloud-Native Solution) จะสามารถช่วยให้ภาคธนาคารยกระดับการใช้งาน Big Data และ AI ในการเสริมสร้างบริการต่างๆ และเร่งความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน เช่น การบล็อกเฉพาะธุรกรรมที่น่าสงสัย แทนการระงับบัญชีทั้งหมด ซึ่งลูกค้าจะได้เห็นว่า นอกจากธนาคารจะรับรู้ถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของเขาแล้ว ยังช่วยปกป้องดูแลเงินในบัญชีด้วยเทคโนโลยีนำสมัยอีกด้วย 

 

“การธนาคารแบบตอบโจทย์เจาะใจลูกค้าจะสามารถเติมเต็มประสบการณ์ลูกค้าตั้งแต่ต้นจนจบ โดยที่ลูกค้าเองก็สามารถรับบริการที่ต้องการได้โดยไม่ต้องไปถึงธนาคาร หรือโทรเข้าศูนย์บริการลูกค้า” คุณเดลล์กล่าว

ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยที่สามารถวิเคราะห์ความชอบและพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ในอนาคต ภาคธนาคารอาจสามารถก้าวขึ้นเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินและผู้ช่วยส่วนตัวให้กับกลุ่มลูกค้า แทนที่จะเป็นเพียงผู้เสนอขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพียงอย่างเดียว และนี่เอง ที่การบริการแบบตรงใจลูกค้าจะมาปลดล็อกก้าวใหม่ให้กับอุตสาหกรรม

 

                                   #####

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สังคม/เศรษฐกิจ
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม พาณิชย์ชวนเที่ยวตลาดต้องชมทั่วประเทศ ภายใต้ชื่องาน “ชวนตะลอนตลาดต้องชม ตะลุยความสุขช่วงเทศกาลปีใหม่” โดยมี นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วย นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ นายกรนิจ โนนจุ้ย รองอธิบดีกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ และนายชวน ชูจันทร์ ประธานประชาคมตลาดน้ำคลองลัดมะยม ให้การต้อนรับพร้อมพาเที่ยว “ตลาดน้ำคลองลัดมะยม” เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร หนึ่งในตลาดต้องชม จาก 121 แห่ง ทั่วประเทศ
24 ธ.ค. 2566