ค.ร.อ.ท.เข้าร่วมสัมมนา “ทิศทางการศึกษาไทยต่อร่างพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ พ.ศ....จัดโดยกรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร ณ หอประชุมคุรุสภา กทม.

   เมื่อ : 20 พ.ย. 2567

  ตามที่คณะกรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎรนำโดยส.ส. ปรีดา บุญเพลิง กรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญชวนสมาชิก สมาคมฯ ชมรมฯ ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วมสัมมนาข้อเสนอข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนาเกี่ยวกับทิศทางการศึกษาไทยต่อร่าง พ.ร.บ.การศึกษาชาติ พ.ศ....ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ณ หอประชุมคุรุสภา โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังจากหลายกลุ่มที่ให้ความสนใจเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ และมีสมาชิกที่เข้าร่วมสัมมนาได้แสดงความคิดเห็นจำนวนมากและมีการถ่ายทอดการสัมมนาให้ผู้สนใจสามารถเข้ารับฟังได้กันทั่วประเทศ

 

การจัดสัมมนาเรื่อง“ทิศทางการศึกษาไทยต่อร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ...คณะกรรมาธิการฯ ได้เชิญประธานเครือข่ายคนรักษ์อาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย(ค.ร.อ.ท.) เข้าร่วมเป็นวิทยากรเพื่อนำเสนอข้อคิดเห็นแนวทางร่าง พ.ร.บ.การศึกษาฯฉบับดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางของการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน นั้น

 ด้านนายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ประธานฯ ค.ร.อ.ท. ได้เข้าร่วมสัมมนาและนำเสนอในที่ในวงสัมมนาถึงข้อเสนอเกี่ยวกับเรื่องของการอาชีวศึกษา โดยขอเสนอให้กรรมาธิการได้พิจารณาถึงการจัดการศึกษาอาชีวศึกษานั้นควรที่จะจัดการศึกษาที่เป็นเอกภาพนั่นคือระดับ ปวช.ปวส.และปริญญาตรีนั้นปัจจุบันดำเนินการโดยอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน จึงขอให้คณะกรรมการกรรมาธิการได้พิจารณาถึงร่าง พ.ร.บ. การศึกษาที่จะนำเข้าพิจารณาในคณะกรรมาธิการการศึกษาหรือในรัฐสภา ควรที่จะมีมาตราใดมาตราหนึ่งระบุให้ชัดเจนว่าการจัดการอาชีวศึกษาเป็นให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เหมือนเช่นมาตราที่ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้โดยให้เหตุผลว่าการจัดการอาชีวศึกษานั้นแบ่งเป็น 3 ระดับคือ

 

ระดับต้นคือการจัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ส่วนระดับกลางคือการจัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และระดับสูงคือการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเทคโนโลยีควรเป็นการจัดการที่เป็นเอกภาพไม่ใช่ตามร่างฯที่คณะกรรมาธิการได้เสนอประธานรัฐสภานั้นได้กำหนดให้การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพอยู่ในการการศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและปริญญาตรีนั้นอยู่ในระดับของอุดมศึกษา ซึ่งเรื่องนี้ทำให้เป็นที่กังขากับคนอาชีวะทั้งประเทศว่าเหตุใดการบริหารจัดการการศึกษาอาชีวศึกษาจึงไม่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน จึงเสนอเพิ่มเติมว่าการจัดการศึกษาควรแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือระดับปฐมวัย ระดับพื้นฐานระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการจัดการศึกษาทั้งนี้ได้เสนอที่สัมมนาถึงโครงสร้างการบริหารกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันนี้มีความเหมาะสมแล้วไม่ควรยกเลิกแท่งต่างๆที่มีอยู่ปัจจุบันคือแท่งการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษาอาชีวศึกษาและสภาการศึกษา เพียงแต่ขอให้การบริหารจัดการมีการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งเพื่อให้ประโยชน์กับเกิดขึ้นกับผู้เรียนให้มากกว่าที่เป็นอยู่และการอาชีวศึกษาต้องมีความสัมพันธ์กับการจัดการศึกษาในระบบทวิภาคีมีการออกกฎหมายรองรับโดยความร่วมมือการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาร่วมกับภาคเอกชนสถานประกอบการนั้นจะทำให้การจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษามีความเข้มแข็ง จึงจะทำให้การศึกษาด้านอาชีวศึกษานั้นสามารถผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อเป็นกำลังของประเทศชาติได้อย่างแท้จริง

 

ในตอนท้ายของการนำเสนอในวงสัมมนานายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงเรื่องร่าง พ.ร.บ.การศึกษาการศึกษาชาติ...ฉบับที่คณะกรรมาธิการได้ยื่นต่อประธานรัฐสภาโดยที่มีการกำหนดแนวปฏิบัติไปในทิศทางการเป็นระบบบริหารจัดการ แบบ single command ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องบริหารจัดการการศึกษาที่ย้อนยุคในอดีตกว่า 50 ปี ซึ่งเป็นการกระบวนการคิดที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะระบบการศึกษาต้องกระจายอำนาจไปยังสถานศึกษาตามเขตพื้นที่ต่างๆให้สามารถบริหารจัดการเพื่อสนองต่อความต้องการของการศึกษาของประชาชนในแต่ละท้องถิ่นที่มีความต้องการแตกต่างกันไปไม่ใช่การรวบอำนาจไว้บริหารสั่งการที่ส่วนกลาง ซึ่งถือว่าเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งสร้างแต่ฐานอำนาจส่วนบุคคล แต่ไม่ได้สร้างคุณภาพของผู้เรียนแต่อย่างใด ตนจึงขอค้านแนวคิดนี้ให้ถึงที่สุด ถ้ากรรมาธิการและสมาชิกสภาผู้แทนให้ความสำคัญด้านการศึกษาต้องให้บริหารจัดการแบบกระจายอำนาจไปยังสถานศึกษาส่วนการบริหารในส่วนกลางควรเป็นแค่ผู้ให้การสนับสนุน อำนวยความสะดวกเท่านั้น จึงจะถือว่ามีความเหมาะสมต่อการบริหารอย่างแท้จริง