ปภัสสร ผู้รับเหมาร้องขอความเป็นธรรมนายกรัฐมนตรี เร่งสอบผู้ช่วยเหลือ ผอ.เทคนิคกลับรับราชการ ทั้งที่ศาลรับฟ้อง พิชิต รมต.ประจำสำนักนายกประเดิมงานแรก

   เมื่อ : 09 พ.ค. 2567

เครือข่ายอาชีวะร้อนใจเตรียมยื่นนายกรัฐมนตรี ขอให้เร่งเคลียร์การบริหารงานของอาชีวะให้เกิดธรรมาภิบาลโดยเร็ว  หลังผู้รับเหมาร้อง ป.ป.ช. และนายกรัฐมนตรี กรณีเลขาอาชีวะสั่ง ผอ.เทคนิค กลับเข้ารับราชการทั้งที่ศาลอาญาทุจริตรับฟ้องแล้ว

 

เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 67 นางประภัสสร ม่วงทิพย์ ผู้รับเหมาปรับปรุงอาคารโรงอาหารของวิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการนำหนังสือพร้อมหลักฐานเอกสาร คลิปการจับกุม คลิปเสียง เข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน โดยนายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับเรื่องไว้ เพื่อให้ตั้งกรรมการสอบวินัยกับผู้สนับสนุนให้ นายเพชรโยธิน ราษฎร์เจริญ กลับรับราชการอีกครั้งหลังศาลรับฟ้อง 

โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 ที่ผ่านมานางประภัสสร ม่วงทิพย์ ได้นำหนังสือเข้ายื่นเรื่องร้องเรียนถึงประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช.และนายกรัฐมนตรีมาแล้ว เพื่อร้องขอความเป็นธรรม กรณีร้องเรียนการ ทุจริตการปฎิบัติหน้าที่ของนายเพชรโยธิน ราษฏร์เจริญ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งคดีเกิดตั้งแต่ปี 2565 ปัจจุบันทางอัยการคดีปราบปรามทุจริตภาค 1 สั่งฟ้องต่อศาลอาญาปราบปรามทุจริตภาค 1 ศาลได้รับฟ้องตกเป็นจำเลยไปเรียบร้อย เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการกรรมการการอาชีวศึกษา ได้สั่งให้กลับเข้ารับราชการ โดยอ้างเหตุผลว่าเป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง และคำสั่งให้พักราชการที่ นายธนุ วงษ์จินดา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สั่งพักราชการไว้ก่อนหน้านี้ ไม่ชอบด้วยระเบียบกฎหมาย
 

โดยในครั้งนี้ นางประภัสสร ซึ่งเป็นผู้เสียหายยังเดินหน้าร้องเรียนเหมือนที่เคยร้องมาตลอดว่า ตนไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีการดำเนินการทางวินัยของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่เป็นต้นสังกัดได้ออกคำสั่งให้นายเพชรโยธิน  ราษฏร์เจริญ กลับเข้ารับราชการ เพราะรับฟังรายงานจากกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงที่สรุปว่าไม่มีความผิด อ้างว่าเงินสินบนที่ ป.ป.ท.และตำรวจเข้าจับกุมนั้นเป็นเงินบริจาค  ซึ่งทาง ป.ป.ท.เองได้มีหนังสือสอบถามเข้ามาหลายครั้งแต่ทางสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาไม่ตอบ ซึ่งตนได้คัดค้านและยื่นเรื่องต่อ ปปช. ให้ตรวจสอบการปฎิบัติหน้าที่ของกรรมการสอบสวน อยู่ในขณะนี้ ให้ตรวจสอบคำสั่งที่ นายยศพล สั่งกลับเข้ารับราชการ ครั้งนี้ ได้มีการยกเลิกคำสั่งเก่าที่ให้ออกจากราชการไว้ก่อนของว่าที่ร้อยตรีธนุ หรือไม่
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 

 

นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลับมีคำสั่งให้นายเพชรโยธิน ราษฎ์เจริญ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี กลับเข้ารับราชการที่วิทยาลัยการอาชีพพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งที่ตามกฎ ก.ค.ศ. หรือกฎระเบียบข้าราชการครูเขียนไว้ชัดเจนว่า เมื่อข้าราชการโดนสอบสวนวินัยร้ายแรงหรือถูกกล่าวหา ถูกดำเนินคดีอาญาในฐานความผิดทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้บังคับบัญชาจะต้องลงโทษสั่งพักราชการหรือให้ออกไว้ก่อน 

 

ซึ่งเรื่องนี้มูลเหตุเดิมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา ขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้สั่งพักราชการไว้ก่อนตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่  584/2566 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2566 ให้พักราชการ นายเพชรโยธิน ราษฎร์เจริญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี ขณะนั้น เพราะเหตุที่พนักงานสอบสวน สภ.ธัญบุรี มีความเห็นสั่งฟ้องจนตกเป็นผู้ต้องหาในคดีความผิดฐานเรียกรับสินบน เพื่อแลกกับการตรวจรับงานจ้างและสั่งอนุมัติจ่ายเงินค่าจ้าง ตามที่ทางเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. และตำรวจลงพื้นที่จับกุมพร้อมเงินสดได้ที่ห้องทำงานตามที่สื่อหนังสือพิมพ์สื่อทีวีเสนอข่าวไปอย่างแพร่หลายก่อนหน้านี้

 

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมาพนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามทุจริต 1 ภาค 1 ได้ยื่นฟ้องนายเพชรโยธิน ราษฎร์เจริญ ต่อศาลคดีอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 ในฐานความผิดเป็นเจ้าพนักงานรับสินบนและเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริตตามมาตรา 149 และ 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญาซึ่งศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ ได้รับฟ้องไว้แล้ว 

 

ปรากฎตามหนังสือสำนักงานอัยการคดีพิเศษฝ่ายปราบปรามทุจริต 1 ภาค 1 ที่ตอบตามหนังสือของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่ได้สอบถามขอทราบผลคดีไป จึงเป็นที่สงสัยว่าเหตุใด นายยศพล เวณุโกเศศ ไม่ออกคำสั่งให้ผู้ที่ตกเป็นจำเลยในคดีอาญาฐานทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ พักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนจนกว่าคดีจะสิ้นสุด  โดยปกติทั่วไปเมื่อเจ้าหน้าที่ภาครัฐเมื่อตกเป็นจำเลยทางศาล จะถูกพักราชการไว้ก่อน หรืออาชีวะมีระเบียบไว้เป็นอย่างอื่น  

 

ก่อนหน้านี้ นางปภัสสร ม่วงทิพย์ ได้คัดค้านผลการสอบสวนของกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงที่สรุปว่าเงินที่เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ตำรวจ เข้าจับกุมนั้นเป็นเงินบริจาค ไม่ใช่เป็นเงินเรียกรับสินบนจากตน  ซึ่งทาง อ.ก.ค.ศ.อาชีวศึกษาและ ก.ค.ศ.ได้พิจารณาและลงมติว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิดวินัยร้ายแรงตามที่ถูกกล่าวหา ถือเป็นความผิดเพียงเล็กน้อยให้ลงโทษแค่ว่ากล่าวตักเตือน จึงยิ่งทำให้สงสัยในกระบวนการสอบสวนในครั้งนี้ว่ามีการวิ่งเต้นช่วยเหลือกัน การดำเนินการโปร่งใสหรือไม่อย่างไร 

 

คดีนี้นางประภัสสร ได้ยืนยัน กับพนักงานสอบสวน อัยการปราบปรามการทุจริต ป.ป.ท. ป.ป.ช. และสื่อมวลชนมาตลอด ว่าเป็นการเรียกรับสินบน ตนเองไม่ได้บริจาคเงิน 
เหตุใดกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงของทางอาชีวะ จึงสรุปรายงานการสอบสวนออกมาเช่นนั้น 


การสอบสวนไม่ได้ดูสำนวนการจับกุม หรือเชิญเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ตำรวจที่จับกุมมาให้ข้อมูลแม้แต่คนเดียว เอาแต่ส่วนพวกตนมา การรับฟังพยานหลักฐานไม่คลอบคลุมรอบด้าน


ขนาดชุดจับกุม เคยบอกว่าหากพวกตนทำผิดมีเจตนาไม่ดี เข้าข้าง ไม่มีข้อมูลเหตุผลเสนอยุบหน่วยงานไปเลย
การจับกุมของ ปปท.ก็ปฎิบัติหน้าที่ชอบด้วยระเบียบกฎหมาย ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินได้วินิจฉัยตอบมาแล้ว หลังจากที่นายเพชรโยธิน ราษฎ์เจริญ ได้ร้องเรียนกล่าวหา ปปท.ว่าการจับกุมของปปท. นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ไม่แน่ใจว่ากรรมการสอบสวนวินัย ได้ไปเอาหลักฐานมาจากไหน จึงสรุปรายงานการสอบสวนออกมาไม่ผิด แค่ให้ตักเตือนแบบนี้  เขาจับสด หลักฐานชัด หรือว่ามีเหตุผลใดกันแน่

 

นางประภัสสร กล่าวว่า ตนในฐานะผู้ร้องเป็นประชาชนธรรมดาที่ไม่มีอำนาจอะไร ที่จะมาต่อสู้กับผู้ที่มีตำแหน่ง มีอำนาจรัฐอยู่ในมือได้ นอกจากร้องขอความเป็นธรรมจากองค์กรอิสระ และจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไป จึงต้องมาร้องต่อนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคุรุสภา เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าวให้เกิดความยุติธรรมต่อตนเอง ทั้งได้ยื่นร้องสำนักงานคุรุสภา เพื่อเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและผู้บริหารด้วย ตนต้องการรักษาไว้ซึ่งหลักธรรมาภิบาลขององค์กร คือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการซึ่งถือว่าเป็นกระทรวงที่สำคัญยิ่งต่ออนาคตประเทศชาติ เป็นแม่พิมพ์ในการสอนเด็กและเยาวชน ให้มีความรู้มีคุณธรรมจริยธรรม  เป็นสำคัญ


เมื่อคนสอนประพฤติตนอันไม่เหมาะสม แล้วจะไปสอนใครได้ ยิ่งขณะนี้เลขาอาชีวะบอกสื่อเองมิใช่หรือ นักเรียนลดลงอย่างน่าตกใจ 


ปัจจุบันมีผู้สมัครเข้าเรียนแค่ 40% ปีการศึกษา 2567 ตั้งเป้ารับ ที่ 2.8 แสนคน แต่ตอนนี้ยอดผู้เรียนมาสมัครจริงแค่ 90000 คน รวมสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชนกว่า 900 แห่ง บอกยังมีเวลาให้วิทยาลัยต่างๆเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อการรับนักศึกษาเพิ่มรับเพิ่ม 

 

ถ้าอาชีวะไปช่วยเหลือคนผิดให้ไม่ต้องรับโทษ ต่อไปเขาอาจสร้างไปอิทธิพล ไม่ให้ถูกลงโทษทางวินัย ละเว้นไม่รักษากฎหมาย ระเบียบในการบริหารงานบุคคล ทำให้ราชการเสียหายอย่างร้ายแรงเสมือนส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการทุจริตและประพฤติมิชอบมีอำนาจและตำแหน่งหน้าที่หรือไม่ 


ส่งผลต่อภาพลักษณ์และนโยบายในการปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการเอง สร้างบรรทัดฐานใหม่ เดี๋ยวจะมีองค์กรอื่นเอาแบบอย่างคอยดู

 

ด้านนายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ประธานเครือข่ายคนรักษ์อาชีวศึกษา(ค.ร.อ.ท.)ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าตนได้ติดตามการสอบสวนและการดำเนินคดีมาตั้งแต่ต้นตามที่สื่อต่างๆเสนอข่าว ตั้งแต่ ปปท.และตำรวจเข้าจับกุมจนมาถึงวันนี้ซึ่งอัยการปราบปรามทุจริตภาค 1 ได้มีคำสั่งฟ้องต่อศาลคดีทุจริตและศาลได้รับฟ้องจนตกเป็นจำเลยในคดีทุจริต และได้มีหนังสือแจ้งมาที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแล้ว 

 

ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา แต่ตนไม่แน่ใจว่าทาง กรรมการสอบสวนวินัย กรรมการ อ.ก.ค.ศ. กรรมการ ก.ค.ศ. หรือเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้รับทราบหนังสือฉบับนี้หรือไม่ 

 

คดีดังกล่าวนี้จึงสร้างความสั่นสะเทือน กระทบความเชื่อมั่นต่อระบบธรรมาภิบาล ความโปร่งใสในสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทำให้หลายๆคนมองดูว่าการบริหารจัดการงานบุคคล งานวินัย งานคดีความต่างๆ ในหน่วยงานแห่งนี้มีความเป็นมาตรฐานขนาดไหน ดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาล โปร่งใสหรือไม่ 

 

ทางเครือข่ายอาชีวะได้ยินข่าวในลักษณะนี้มาตลอด แต่ไม่มีคำตอบให้ภาคประชาชน หรือแม้แต่ ปปท. ปปช. และในกรณีนี้เหตุใดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จึงไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎของ กคศ.ที่ว่าเมื่อข้าราชการถูกฟ้องในคดีอาญาในฐานความผิด ทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่แล้ว ผู้บังคับบัญชาต้องสั่งพักหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนจนกว่าคดีจะสิ้นสุดเหมือนกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ได้สั่งให้รองผบ.ตร.ท่านหนึ่งออกจากราชการไว้ก่อน ทั้งที่ศาลยังไม่ได้รับฟ้อง ถ้าเป็นการปกป้องคนที่ผิดเพียงคนเดียว ทำให้บุคคลอื่นต้องเดือดร้อน และภาพลักษณ์องค์กรฟังพินาศไม่คุ้มกันถือว่าเสียหายมาก

 

นายเศรษฐศิษฎ์ กล่าวต่อไปว่า หากพิจารณาตามกฏระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาหรือกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการให้พักและออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ. 2555 ข้อที่ 3(1) หากข้าราชการถูกฟ้องในคดีอาญาฐานทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ 
ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการออกคำสั่งให้เป็นไปตามกฎ ก.ค.ศ.ในข้อนี้

 

ดังนั้นตนในฐานะประธานเครือข่ายคนรักษ์อาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย (ค.ร.อ.ท.) ซึ่งเป็นภาคประชาชนจะติดตามข้อสั่งการของท่านนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคุรุสภา 

 

ในการตรวจสอบว่าการดำเนินการของเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รวมถึงการปฎิบัติหน้าที่ของกรรมการสอบสวนวินัย อ.ก.ค.ศ. และ ก.ค.ศ. รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องว่าได้ดำเนินการด้วยความสุจริต โปร่งใส มีความเป็นธรรม ชอบด้วยระเบียบกฎหมายหรือไม่ เพราะคดีดังกล่าวอยู่ในความสนใจของประชาชนทั้งประเทศที่คอยติดตามว่าผลของคดีจะจบลงอย่างไร  หากยังไม่มีความคืบหน้าก็จะยื่นเรื่องต่อองค์กรอิสระหรือสภาผู้แทนราษฎรเพื่อตรวจสอบต่อไป

 

                                 #####