อว. GISTDA ปลื้ม..!! เด็กไทยคว้ารางวัล Merit Award จากกิจกรรม International Space Challenge 2024 ประเทศสิงคโปร์
นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยอีกก้าวหนึ่งในด้านการสร้างคนด้านอวกาศ เป็นข่าวดีต้อนรับวันสตรีสากล ซึ่งน้องๆทีมหญิงล้วนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ผ่านการแข่งขันจาก “GISTDA School satellite competition 2024”
จัดโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผ่านการบ่มเพาะเยาวชนต้นกล้าโดยเน้นการสร้างองค์ความรู้และส่งเสริมการแข่งขันด้านอวกาศทั้งในและต่างประเทศจนได้รับรางวัลดีเด่น (Merit Award) ในการส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรม International Space Challenge 2024 ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อช่วงกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ดร.พรเทพ นวกิจกนก ผู้อำนวยการศูนย์ผลิตดาวเทียมแห่งชาติ GISTDA กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีและภาคภูมิใจมากๆที่น้องๆเยาวชนในระดับอุดมศึกษา ประกอบไปด้วย น้องวินเทอร์ไบน์ น้องมะเหมี่ยว น้องจีนเย่ว ที่ได้รับรางวัลดีเด่น (Merit Award) ในการส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรม International Space Challenge 2024 ประเทศสิงคโปร์
โดยเป็นกิจกรรมที่รับสมัครทีมนักเรียนนักศึกษา ที่สนใจด้าน STEM และอุตสาหกรรมอวกาศเข้าไปฝึกฝน เรียนรู้ผ่านการทำเวิร์คชอป และการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งธีมของปีนี้คือ Space mining หรือการขุดเจาะเพื่อการสำรวจอวกาศ ซึ่งทีมน้องๆได้เข้าแข่งขันประเภท ISC Advanced Category อายุระหว่าง 15-25 ปี โดยทั้ง 3 คน เคยสร้างผลงานและได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ในการแข่งขัน “GISTDA School satellite competition 2024” ในนามทีม “ใครไม่มา บรูโน่มาร์” จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เพิ่งแข่งขันแล้วเสร็จไปเมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมา
ดร.พรเทพ กล่าวต่อว่า
โดยเป็นกิจกรรมที่รับสมัครทีมนักเรียนนักศึกษา ที่สนใจด้าน STEM และอุตสาหกรรมอวกาศเข้าไปฝึกฝน เรียนรู้ผ่านการทำเวิร์คชอป และการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งธีมของปีนี้คือ Space mining หรือการขุดเจาะเพื่อการสำรวจอวกาศ ซึ่งทีมน้องๆได้เข้าแข่งขันประเภท ISC Advanced Category อายุระหว่าง 15-25 ปี โดยทั้ง 3 คน เคยสร้างผลงานและได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ในการแข่งขัน “GISTDA School satellite competition 2024” ในนามทีม “ใครไม่มา บรูโน่มาร์” จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เพิ่งแข่งขันแล้วเสร็จไปเมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมา
ดร.พรเทพ กล่าวต่อว่า
น้องวินเทอร์ไบน์ หรือนางสาวธัญรดา พ่อค้าทอง หนึ่งในทีมผู้เข้าแข่งขันยังเคยผ่านการฝึกอบรมกิจกรรม Know-How Transfer and Training (KHTT) ซึ่งเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้จากวิศวกรดาวเทียม THEOS-2A ด้านการออกแบบและวิเคราะห์โครงสร้างดาวเทียม เป็นระยะเวลากว่า 6 เดือนในช่วงต้นปี 2566 โดยน้องวินเทอร์ไบน์บอกกับเราว่าได้นำความรู้หลายส่วน โดยเฉพาะขั้นตอนการทดสอบดาวเทียมที่เคยสัมผัสประสบการณ์จริงจากตอนมาทำงานร่วมกับวิศวกร GISTDA ไปใช้วางแผนและออกแบบการทดสอบกับภารกิจครั้งนี้ ถือเป็นความภูมิใจของ GISTDA ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อความรู้ และเป็นการตอกย้ำความสำเร็จที่น้องๆสามารถนำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดได้ในระดับสากล น้องๆยังแชร์ประสบการณ์ให้ฟังอีกว่า ช่วงที่ลงแข่งขันเป็นช่วงที่กำลังเรียน และแข่งขัน school satellite อยู่ด้วยจึงต้องบริหารจัดการเวลาให้ดี อาจจะรู้สึกท้อตลอดแต่ไม่ถอย สู้เพื่อสิ่งที่รักสิ่งที่ชอบ อนาคตข้างหน้าน้องๆกลุ่มนี้จะกลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศของประเทศไทยต่อไป
######