ดร. เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาฯ และคณะกรรมการบริหาร สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เข้าพบท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อหารือในหลายประเด็น

   เมื่อ : 04 ม.ค. 2567

วันพุธที่  3  มกราคม 2567  เวลา 15.00 น.  
ณ ห้องประชุมประสงค์ รณะนันทน์ ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี  ดินแดง กรุงเทพฯ  10400
..............................................

1. นายจ้างไม่เห็นด้วยที่พรรคการเมืองต่างก็ใช้นโยบายประชานิยมในการหาเสียงโดยชูประเด็นขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพื่อหาเสียงเป็นนโยบายชวนเชื่อเพื่อการหาเสียง  

หลักการและเหตุผล
ที่ไม่เห็นด้วยนั้น ยังคงมีความเห็นว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำนั้นภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 87  มีองค์ประกอบทางด้านเศรษฐศาสตร์รองรับความเหมาะสมทุกด้านแล้ว ประกอบด้วยคณะกรรมการไตรภาคี 3  ฝ่าย  ได้ใช้สิทธิในการพิจารณาครอบคลุมแล้ว ทั้งฝ่ายนายจ้าง  ลูกจ้าง  และฝ่ายรัฐ  “กระบวนการดังกล่าว ได้ผ่านมติ ของคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด ทุกจังหวัด ผ่านเข้าอนุกรรมการทบทวนแล้ว จึงส่งต่อไตรภาคี ค่าแรงขั้นต่ำ ตามระบบ อย่างถููกต้อง”
จึงไม่จำเป็นที่ทางภาครัฐ จะต้องเข้ามาแทรกแซงให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำนี้ ตามกระแสการเมืองแต่อย่างใด

2. เรื่อง การจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงและพิจารณาการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชย  
หลักการและเหตุผล

 

​เหตุผลที่ไม่เห็นด้วยในเรื่องการจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงและการพิจารณาแก้ไขกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าชดเชยนั้น  ปัจจุบันนี้นายจ้างต้องรับภาระเกี่ยวกับการจ่ายเงินเข้ากองทุนต่างๆ คือ
1. กองทุนประกันสังคม
2. กองทุนเงินทดแทน
3. กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง (กำลังจะมีผลบังคับ)
4. กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กำลังจะใช้บังคับ)

สำหรับเรื่องค่าชดเชยในประเด็นดังกล่าวนี้  นายจ้างไม่ได้มีนโยบายกำหนดหลักการไว้  เมื่อเกิดการเลิกจ้าง นายจ้างจะจ่ายค่าชดเชยเป็นกรณีๆ ไป เช่น ในการเกษียณอายุ  การสิ้นสุดสภาพการจ้าง ซึ่งต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว
​ในการที่จะกำหนดตั้งเป็นงบประมาณไว้เพื่ออนาคต  เพื่อการจ่ายค่าชดเชยของลูกจ้างทั้งหมดล่วงหน้านั้น  เป็นการสร้างนโยบายโดยกฏหมายที่ไม่จำเป็นและยังไม่เคยมี  แม้แต่ประเทศที่เจริญแล้ว         ยังไม่นำมาใช้เป็นนโยบายกันเลย
​อนึ่งหากภาครัฐจะขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นจริง จะเป็นการสร้างภาระให้แก่นายจ้าง อีกทั้งยังไม่เอื้อให้นักลงทุนในประเทศและต่างประเทศมาเพิ่มการลงทุนในประเทศไทยด้วย

3. เสนอให้ภาครัฐได้หารือกับกรมสรรพากร  เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ Upskill-Reskill   ให้แก่พนักงานเพื่อการพัฒนาทักษะเรียนรู้เสริมทักษะใหม่ๆ ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญในสายงานมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง ให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานโลก นายจ้างเห็นว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนี้   ควรจะให้นายจ้างสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้เป็น 2 เท่า

 

หลักการและเหตุผล

เรื่องการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ หรือเสริมทักษะใหม่ๆ ให้เกิดความเชี่ยวชาญในสายงานมากขึ้น เพื่อรองรับเทคโนโลยี่ใหม่ๆ ในการประกอบกิจการนั้น เป็นหน้าที่ของนายจ้างต้องจัดทำเป็นนโยบายอยู่แล้ว ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น  ประกอบกับการปรับค่าจ้างประจำปี และค่าจ้างขั้นต่ำในทุกปี การดำเนินการ upskill reskill ให้แก่พนักงาน ในการพัฒนาทักษะเรียนรู้เทคโนโลยี่ใหม่ๆ นั้น จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นใหม่อีก ในเรื่องนี้เห็นสมควรอย่างยิ่งที่ภาครัฐต้องส่งเสริมให้นายจ้างได้นำเอาค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นไปหักลดหย่อนภาษีได้สองเท่า  “และหรือเรียกคืนได้ 50 % ของเงินค่าใช้จ่าย ที่นายจ้างได้ใช้ไป ทั้งสิ้นในช่วงการ upskill reskill เพื่อเป็นการลดภาระนายจ้าง และสามารถพัฒนาความสามารถของแรงงานให้รวดเร็วขึ้น เพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยี่ของเครื่องจักรใหม่ๆได้  และวิถีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถเพิ่ม productivity ได้ ผู้ประกอบการสามารถปรับค่าแรง ตาม skill ที่เพิ่มขึ้น กับผลงานที่ออกมา เพื่อปรับค่าแรงตาม performance

4. เรื่อง เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของประกันสังคม ขอให้พิจารณาในเรื่องของการนำเอาเงินชราภาพออกมาใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพได้  ในระหว่างที่ยังเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 อยู่  และให้หมายรวมถึงผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ให้สามารถนำเอาสิทธิประโยชน์ เงินชราภาพเดิม ที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกมาใช้เพื่อประโยชน์ในการครองชีพได้   ในระหว่างที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ด้วย
 

หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533  แล้วนั้น  มีสิทธิประกอบด้วย  7  สิทธิประโยชน์   และสิทธิประโยชน์ประเภทที่ 6  คือ สิทธิชราภาพ  ซึ่งผู้ประกันตนนี้จะได้รับสิทธินำมาใช้ได้ ต้องเป็นผู้ที่ส่งเงินสมทบมาแล้วครบ 180 เดือน มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และพ้นจากสภาพการเป็นผู้ประกันตนแล้ว  จึงจะใช้สิทธิชราภาพนั้น  มีผู้ประกันตนส่วนมากมีความเห็นว่าสิทธิชราภาพนั้น ผู้ประกันตนอาจไม่มีโอกาสได้ ใช้เลยก็ได้  จึงควรให้ผู้ประกันตนที่อาจจะไม่มีโอกาสได้นำเงินชราภาพมาใช้ ได้นำเงินชราภาพบางส่วนมาใช้ก่อน  ในขณะที่ยังเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้   นอกจากนั้นยังให้หมายรวมถึง  ผู้ประกันตนตามมาตรา 39  ซึ่งได้เคยเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33  มาก่อนแล้ว  ซึ่งปกติแล้วต้องหยุดรับเงินชราภาพ  ตามมาตรา 33 ให้สามารถขอรับสิทธินำเงินชราภาพ ตามมาตรา 33  ออกมาใช้ในการดำรงชีพได้ในขณะที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39  ได้อีกด้วย

 

                                 ********