”เลขาฯ อาชีวะ มอบศูนย์ความปลอดภัยลงพื้นที่ติดตามผลโครงการป้องกันฯยาเสพติดในสถานศึกษา เร่งนโยบายใหม่ เรียนดี มีความสุข”
22 กันยายน 2566
ว่าที่ ร.ต. ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่าได้มอบหมายให้ เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานพิธีโครงการสัมมนาติดตามคุณภาพโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ระดับภาคใต้
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 เจ้าภาพจัดโครงการภาคใต้โดยวิทยาลัยเทคนิคชุมพร มี ผอ.จารึก ศิลป์สวัสดิ์ และคณะผู้บริหาร ครู และเจ้าหน้าที่ สนับสนุนสถานที่และรวบรวมผลการติดตาม มีสถานศึกษาภาครัฐในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เข้าร่วมรายงานผล 81 แห่ง และสถานศึกษาภาคเอกชน จำนวน 21 แห่ง ซึ่งสถานศึกษาทุกแห่ง มีแผนการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ภายใต้มาตรการป้องกันเป็นการให้ความรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ผู้เรียนที่ได้รับการสร้างภูมิคุ้มกัน จำนวน 54679 คน การค้นหาและ คัดกรองผู้เรียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มบำบัด เข้าร่วมกิจกรรมใครติดยายกมือขึ้น จำนวน 12518 คน เข้ารับบริการศูนย์เพื่อนใจ จำนวน 468 คน และสถานศึกษามีระบบการเฝ้าระวังผู้เรียนกลุ่มเสี่ยงไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และหากมีกลุ่มเสพที่ผ่านการบำบัดแล้ว จะต้องไม่กลับไปเสพซ้ำ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันและมีระบบการดูแลให้ผู้เรียนจบการศึกษา โดยการบริหารจัดการของสถานศึกษา จะต้องสนับสนุน ส่งเสริม การป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ อีกทั้งมีแผนการดำเนินงานภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์ TO BE NUMBER ONE เครื่องมือการติดตามคุณภาพออกแบบตามกรอบทฤษฎีดุลยภาพ (Balanced Scorecard) ผลการติดตามคุณภาพโครงการฯ ในภาพรวมของสถานศึกษาระดับภาคใต้ ภายใต้มาตรการป้องกันยาเสพติด มีค่าเฉลี่ย 6.36 ด้านที่มีระดับคุณภาพมากที่สุด คือ ด้านการป้องกัน ด้านการค้นหา ด้านการบริหารจัดการ ด้านการเฝ้าระวัง และด้านบำบัดรักษา ค่าเฉลี่ย 8.90 8.67 8.58 8.57 และ 5.65 ตามลำดับ ยุทธศาสตร์ TO BE NUMBER ONE 3 ยุทธศาสตร์
มีค่าเฉลี่ย 5.71 ยุทธศาสตร์ที่มีคุณภาพมากที่สุด คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ปลุกจิตสำนึกและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ และยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ค่าเฉลี่ย 6.02 5.62 และ 5.48 ตามลำดับ มุมมองด้านดุลยภาพ มีค่าเฉลี่ย 1.44 ด้านที่มีดุลยภาพมากที่สุด คือ
ด้านการเงิน ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และพัฒนา และด้านนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครองชุมชน และสถานประกอบการควรปรับปรุง ค่าเฉลี่ย 1.61 1.48 1.45 1.32 ตามลำดับ จุดเด่นของการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาอาชีวศึกษาพื้นที่ภาคใต้ คือ
1) มีการสร้างความตระหนักรู้ปัญหายาเสพติด ให้นักเรียน นักศึกษา บุคลากรของสถานศึกษา
2) มีการป้องกันและการเฝ้าระวังเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ
3) มีเครือข่ายที่เข้มแข็งทั้งภายในสถานศึกษา
4) มีการใช้สื่อออนไลน์ในการรณรงค์กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
5) การดำเนินการ TO BE NUMBER ONE ของวิทยาลัยเทคนิคพัทลุงมีความโดดเด่นสามารถเป็นหน่วยงานต้นแบบสำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของอาชีวศึกษา
6) มีการใช้นวัตกรรม คือ FANHOM MODEL เป็นแนวทางการขับเคลื่อนในระบบและมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
และรูปแบบกิจกรรม 5 รู้โมเดล ข้อเสนอแนะ
1) ควรมุ่งเน้นการดูแลผู้เรียนรายบุคคลทั้งในสถานศึกษาและสถานประกอบการ
2) จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบททางสังคมและศาสนา และครอบคลุมนักเรียน นักศึกษา ทั้งในสถานศึกษาและสถานประกอบการ และ
3) ควรจัดกิจกรรมที่หลากหลาย และส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา เข้ามาเป็นส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
4) ควรเพิ่มแผนงาน TO BE NUMBER ONE สร้างแกนนำ จัดตั้งศูนย์เพื่อนใจตามยุทธศาสตร์ TO BE NUMBER ONE
5) ควรมุ่งเน้นจัดทำระบบการบำบัดรักษาเพื่อเผชิญเหตุในอนาคต
6) ควรจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับโครงการและกิจกรรม และ
7) ควรมีการจัดการชุดข้อมูลนักเรียน นักศึกษา เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ การดำเนินการด้านการป้องกันยาเสพติด เป็นภารกิจของ
ด้าน นายทวีศักดิ์ คิ้วทอง ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มอบหมายศูนย์ความปลอดภัย ลงพื้นที่มีกำหนดการติดตามคุณภาพฯ 3 จุด และให้สถานศึกษานำเสนอผลการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อีกทั้งมีผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น ดร.ธวัชชัย อุ่ยพานิช ดร.สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว ว่าที่ ร.ต.หญิง ดร.ทิตา ดวงสวัสดิ์ และเครื่อข่ายฯ เพื่อติดตามให้กำลังใจสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาครบทุกสถานศึกษาทั่วทั้งประเทศ รวมทั้งหมด 445 แห่ง ดังนี้
- ภาคใต้ วันที่ 11 – 15 กันยายน 2566 จำนวน 102 แห่ง
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และกรุงเทพฯ วันที่ 17 – 21 กันยายน 2566 จำนวน 171 แห่ง
- ภาคกลางและภาคเหนือ วันที่ 22 – 25 กันยายน 2566 จำนวน 162 แห่ง
นายทวีศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะการการอาชีวศึกษา ให้ความสำคัญเรื่อง สถานศึกษาปลอดภัย สถานศึกษาแห่งความสุข โดยได้กำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วน ภาพรวมผลการดำเนินงานของสถานศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยมอบให้ศูนย์ความปลอดภัยได้เร่งนำจุดเด่น และข้อเสนอแนะไปใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงการดำเนินงานด้านการป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาในปีงบประมาณ 2567 โดยบูรณาการ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สถานศึกษามีความปลอดภัยจากภัยยาเสพติด ตามนโยบาย เรียนดี มีความสุข ของกระทรวงศึกษาธิการต่อไป