คิดแบบคน “ARV” กับการจุดติดองค์กรนวัตกรรม “ผู้นำต้องกล้า-ทีมต้องกบฏ-ไม่วิ่งตามใคร” พร้อมเรียนรู้คาแรคเตอร์การบิวท์ “เทคคอมปะนีไทย” ให้พร้อมเดบิวต์สู่ระดับโลก

   เมื่อ : 11 ส.ค. 2566

‘ผู้นำต้องกล้า-ทีมต้องกบฏ’ คือคีย์เวิร์ดสำคัญแห่งการแตกเมล็ดพันธุ์  ‘องค์กรนวัตกรรม’ ที่ได้ถูกแทรกซึมในทุกย่างก้าวของการทำงานที่ ARV (เออาร์วี) หรือ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส ผู้นำด้านการพัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ของไทย ภายใต้กลุ่ม ปตท.สผ. ที่ผ่านการกล้าฝัน กล้าคิด กล้าลงมือทำ และกล้ากะเทาะไอเดียที่น่าเหลือเชื่อด้าน AI และ Robotics จนเกิดเป็นผลงานนวัตกรรมสุดล้ำ และทำให้คนไทยได้เห็นถึงความน่าทึ่งของ 6 โมเดลธุรกิจสุดไฮเทค อีกทั้งล่าสุด ARV ยังนำหุ่นยนต์อัจฉริยะ Nautilus จาก ROVULA เพื่อซ่อมแซมและบำรุงรักษาท่อใต้ทะเลตัวแรกของโลก คว้ารางวัล Spotlight on New Technology Award ในงาน Offshore Technology Conference Asia (OTC Asia) 2022 อีกด้วย

แน่นอนว่าเส้นทางของ ARV มีความน่าสนใจมาตลอดในด้านเทคโนโลยีขั้นสูง และเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้คงไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะการจะปั้นองค์กรนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงได้นั้นต้องมีทั้งการบ่มเพาะกำลังคน เพื่อให้พร้อมกับการเป็นองค์กร “Venture Builder” ที่มีประสิทธิภาพ

·    เปิดเส้นทาง ARV กับคำว่า Deep Tech Ventures Builder

          คุณณภาภัช หงสประภาส หัวหน้ากลุ่มงานทรัพยากรบุคคลและปฏิบัติการ ARV เล่าว่า ARV เป็นบริษัทลูกของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จุดเริ่มต้นของ ARV มาจากชมรมหุ่นยนต์เล็กๆ ใน ปตท.สผ. ซึ่งได้รวบรวมพนักงานที่มีความสนใจเรื่องหุ่นยนต์มาทำกิจกรรมร่วมกันในเวลาว่าง เช่น การเขียนโปรแกรม หรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมไปถึงการประกอบโดรน และการวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จนได้รับความสนใจจากผู้บริหารของ ปตท.สผ. และเริ่มมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ ทำให้ชมรนหุ่นยนต์ได้ออกมาเป็นบริษัทลูกที่ ปตท.สผ. ถือหุ้นทั้งหมดในชื่อบริษัท AI and Robotics Ventures (ARV) ในปี 2018 เพื่อจะเป็นธุรกิจที่สร้าง New S-Curve ให้กับ ปตท.สผ.

“จริงๆ คนชอบมาพูดว่า คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก สิ่งเหล่านี้คือเรื่องจริง แต่ว่ายังไม่มีองค์กรไทยใดในระดับประเทศ แข่งขันกับคนระดับโลกได้เลย เราอยากเป็นองค์กรนั้นค่ะ นี่คือความเชื่อสูงสุดของเรา แม้เรายังทำไม่ได้ในวันนี้ แต่ว่านี่จะเป็น Journey ที่เราจะเดินทางไปเป้าหมายนั้น ดังนั้น เมื่อเรามีความเชื่อแบบนี้ คนที่เราจะชวนเขาเข้ามาเป็น co-founder ของเรา ที่จะมาช่วยเราสร้างธุรกิจ เราก็จะส่งต่อความเชื่อนี้ และเราจะคุยกันว่า เขาเชื่ออย่างเดียวกับเราหรือเปล่า อะไรคือสิ่งที่เขาอยากทำ เขาอยากทำงานยากหรือเปล่า เขาอยากทำเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้หรือเปล่า และเขาอยากทำ Deep Technology หรือไม่ ถ้าอยากจริง เราก็จะชวนมาร่วมงานกับ ARV ซึ่งก็มีคนถามว่า ถ้าเป็นองค์กร Start Up ต้องหาคนเก่งๆ คนเก่งๆ ไปหาที่ไหนหรอ ไม่มีคนไหนที่เก่งที่สุดแล้วทำงานคนเดียวได้ค่ะ เราไม่ได้อยากได้คนเก่งที่สุดในโลกนี้มาอยู่กับเรา แต่เราอยากได้คนที่มีความฝัน ชอบความยากและความท้าทาย และลงมือทำ อยากทำงานเป็นทีมมาอยู่กับเรา อันนี้คือ Core Value สูงสุด ที่เราเชื่อมั่นด้วยกัน”

การบริหาร ARV สไตล์ผู้นำนวัตกรยุคใหม่ ที่ไม่ต้องการวิ่งตามใคร

คุณณภาภัช กล่าวต่อว่า การจะสร้างนวัตกรรม สิ่งสำคัญที่สุดในองค์กรคือ บรรยากาศ การสนับสนุน และการทำจริง แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผู้นำในฐานะ Leader ต้องรู้จักการสร้างบรรยากาศในองค์กร และคอยฟีดแบคทีมงานให้ตรงจุด เพื่อพัฒนาทักษะทีมงานสู่การต่อยอดในเชิงกระบวนการทำงานที่โตได้อย่างรวดเร็ว สำหรับการบริหาร ARV ในสไตล์ผู้นำนวัตกรยุคใหม่นั้น จะไม่ได้ยึดตาม Market Trend เท่าใด เนื่องจาก ARV ไม่ต้องการวิ่งตามใคร หากอธิบายให้เห็นภาพชัดคือ ทีม ARV เคยคุยกันเองภายในองค์กรว่า ARV เป็นผู้ขับรถเร็ว ไม่ชอบให้ใครขับจี้ท้ายรถ เราชอบมองเห็นรถที่อยู่ข้างหลังไกลๆ เห็นได้จากผลงานหุ่นยนต์อัจฉริยะ Nautilus ที่ได้รับรางวัล Spotlight on New Technology Award ในงาน Offshore Technology Conference Asia (OTC Asia) 2022 ที่สร้างขึ้นเพื่อซ่อมแซม และบำรุงรักษาท่อใต้ทะเลตัวแรกของโลก ซึ่งในปัจจุบันนี้เองก็ยังไม่มีคู่แข่งในตลาดที่สามารถไล่เราทัน การจะไปให้ถึงเป้าหมายนี้ได้ พาร์ทเนอร์ที่เปรียบเสมือนเพื่อนคนสำคัญในการมาแลกเปลี่ยนความคิด ความเชี่ยวชาญร่วมกันก็ย่อมสำคัญไม่แพ้กัน

ขณะเดียวกันผู้นำต้องเติมเต็มทักษะให้ทีมงานด้วย โดยทักษะสำคัญที่อยากแนะนำตอนนี้ มี 3 ทักษะ คือ 1. Communication Skill ทักษะการสื่อสารขั้นสูง คนขับเคลื่อนนวัตกรรมต้องนำเสนอเรื่องเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์ขึ้นมา สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายให้แก่คนนอกวงการเทคโนโลยีเป็น 2. Expectation Management Skill ทักษะการบริหารจัดการความคาดหวัง เป็นปกติที่เหล่านวัตกรต้องการอธิบายการคิดนวัตกรรมที่ซับซ้อนอย่างละเอียด เพื่อบอกต่อให้ผู้ใช้รับรู้ แต่แท้จริงผู้ใช้ไม่ต้องการรู้เชิงลึก แค่รับรู้ว่าใช้อย่างไร มีประโยชน์อย่างไร 3. Think Positive Skill ทักษะการคิดบวก ทีมงานที่คิดนวัตกรรมต้องมองปัญหาเป็นเรื่องบวกให้ได้ เนื่องจากนวัตกรรมมีความยาก ความท้าทาย และการจะสร้างให้เกิดขึ้นจริงได้ก็ย่อมใช้เวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้องค์กร ผู้บริหาร และทีมงานก็ต้องร่วมพัฒนาเพื่อครีเอทนวัตกรใหม่ๆ ไปข้างหน้าด้วยกัน 

·       หาทีมที่มี DNA ความคิด “กบฏ” เพื่อสร้างสิ่งใหม่ด้านนวัตกรรม 

คุณณภาภัช กล่าวเสริม นอกจากการหาคนที่มีความเชื่ออย่างแรงกล้า ที่เชื่อว่าไอเดียใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น สามารถเปลี่ยนเป็นนวัตกรรมที่สร้างได้จริงแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่องค์กรนวัตกรรมควรจะต้องมองหามากที่สุดคือ “คน” เพราะคนเป็นผู้สร้างนวัตกรรม และคนที่เรามองหาคือคนที่มีความคิดกบฏนิดๆ มากกว่าการมองหาเพียงคนที่เก่งเทคโนโลยีที่สุด เพราะจุดเริ่มต้นของ ARV เกิดจากการคิดต่างจากกระบวนการการทำงานแบบเดิมๆ เช่น การตั้งคำถามว่า ทำไมเราต้องส่งคนไปดำน้ำ ไปซ่อม แต่ทำไมเราไม่เอาหุ่นยนต์มาทำงานแทนเรา ซึ่งกระบวนการความคิดเหล่านี้จะเป็นกระบวนการที่สร้างนวัตกรรม

ดังนั้นถ้าเราเชื่อว่า ทุกคนในหน่วยงานสามารถที่จะสร้างนวัตกรรมได้ สิ่งแรกที่ต้องหาคือ ทีมที่มีความคิด “กบฏ” และหน้าที่ของผู้บริหารคือ ทำหน้าที่ปลดล็อคความพยายามในการกล้าฝัน กล้าคิดต่าง และกล้าลงมือทำพร้อมทั้ง สร้างสนามประลอง (Playground) เพื่อโชว์ไอเดียต่างๆ ได้อย่างเป็น Ecosystem เพราะถ้าขาดสิ่งเหล่านี้ คนกลุ่มนี้ก็จะออกไปสร้างนวัตกรรมตนเอง หรือนอกองค์กรเราในที่สุด  โดยสนามประลอง แบ่งได้ 3 สเตจหลักๆ เริ่มที่ I-CLINIC เวทีแรกที่จะเปิดให้ทีมได้เข้ามาคุยว่า ไอเดียที่ตั้งใจจะทำคืออะไร มีปัญหาอะไร เกิดขึ้นอย่างไร ถัดมาเข้าสู่ Innovative Stage เพื่อเริ่มนำไอเดียมาทำ POC หรือ Proof Of Concept วิเคราะห์ความเป็นไปได้ พร้อมทำ Mock Up นวัตกรรม ออกมาให้ผู้ใช้ (User) ได้ทดลองใช้ว่า ใช้แล้วติดปัญหาอะไรหรือไม่ ก่อนเข้าสู่ Level Up Stage เพื่อสร้างนวัตกรรมจากไอเดียที่ขายได้ในแง่สินค้าและบริการได้อย่างไร สุดท้ายก็จะ Spin off ออกมาเป็นบริษัทเพื่อ Commercialize ต่อไป

สอบถามรายละเอียดหรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://arv.co.th/ เพจเฟซบุ๊ก AI and Robotics Ventures (https://www.facebook.com/arv.th) หรือโทร. 02 078 4000

 

                                    ###

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ