มก.ขอเชิญฟังการเสวนาพิเศษ “ปัญญาประดิษฐ์กับการประมงไทย : กลยุทธ์สู่การใช้ประโยชน์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน” 5 มีนาคม 2568 ในการประชุมทางวิชาการ มก. ครั้งที่ 63

   เมื่อ : 01 มี.ค. 2568

ปัจจุบันมีการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ชาวประมง อาทิ สามารถติดตามตำแหน่งของเรือ รายงานตำแหน่งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร รวมถึงใช้ปัญญาประดิษฐ์ตรวจจับเรือประมงที่ทำผิดกฎหมายได้ ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ในการพัฒนาการประมงไทย จึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับทรัพยากรธรรมชาติและการทำประมงของชาวประมง เนื่องจากปัญญาประดิษฐ์สามารถระบุพิกัดตำแหน่งพื้นที่ทางทะเลได้แม่นยำยิ่งขึ้น หากมีการแลกเปลี่ยนแนวคิดการใช้ปัญญาประดิษฐ์กับการประมงไทยก็น่าจะมีส่วนช่วยส่งเสริมการพัฒนาวงการประมงไทยได้อย่างยั่งยืน 

 

ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับพันธมิตร จึงได้จัดเสวนาพิเศษสาขาประมง เรื่อง “ปัญญาประดิษฐ์กับการประมงไทย : กลยุทธ์สู่การใช้ประโยชน์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในวันที่ 5 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องบรรยาย 303 อาคารบุญอินทรัมพรรย์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในงานการประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 63 ภายใต้แนวคิด “ปัญญาประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

 

โดยวิทยากรได้แก่ ดร.กันย์ กังวานสายชล กรรมการผู้จัดการบริษัทอัลจีบา จำกัด นายเสริมศักดิ์ พุ้ยมอม ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริษัทอเดคนิค เอ็นจิเนียริ่งโซลูชั่น จำกัด นายณัฐพงศ์ อตินันทชัย ผู้ก่อตั้งบริษัทเอ็มเค อควาเทค จำกัด นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร ผู้บริหารสูงสุดด้านการวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ดร.มานิต ชาญสุภาพ ภาควิชาการจัดการประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ดำเนินรายการได้แก่ รศ.ดร.วราห์ เทพาหุดี ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

 

ส่วนภาคบ่าย จัดสัมมนาพิเศษสาขาเรื่องการวิจัยและเทคโนโลยีแนวหน้าในการใช้ AI (AI and Fisheries: Research Frontiers and Technologies) เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องบรรยาย 303 อาคารบุญอินทรัมพรรย์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยากรได้แก่ รศ.ดร.วราห์ เทพาหุดี ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Assoc.Prof. Wara Taparhudee Faculty of Fisheries Kasetsart University) หัวข้อ “AI in Action: Breakthrough Applications for Fisheries and Aquaculture”

 

ผศ.ดร.สุขกฤช นิมิตรกุล ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Asst.Prof. Sukkrit Nimitkul Faculty of Fisheries Kasetsart University) หัวข้อ “Automated Molting Detection System for Commercial Soft-Shell Crab (Portunus Pelagicus) Production” 

 

Mr.Soichiro YOSHIZAWA MAIDEC Tokyo University of Marine Science and Technology Japan หัวข้อ “AI-driven Affinity Improvement of Single Domain Antibodies in Cartilaginous Fish” 

 

ผศ.ดร.รุ่งพฤทธิ์ จงเจริญสุข ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Asst.Prof. Roongparit Jongjaraunsuk Faculty of Fisheries Kasetsart University) หัวข้อ “Utilizing Unmanned Aerial Vehicle (UAV) with integrated Machine Learning and Deep Learning Models to Assess Fish Weight of Red Tilapia in River Cage Culture” 

 

Prof.Yuntao Wang Second Institute of Oceanography China หัวข้อ “Mitigation of Natural Incidence Towards Oceanic Resilience (MoNITOR) for Satellite Observations and Coupled Physical- Biogeochemical Model with AI Application” 

 

ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.รุ่งพฤทธิ์ จงเจริญสุข ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ผศ.ดร.ธนัสพงษ์ โภควนิช ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Moderators : Asst.Prof. Roongparit Jongjaraunsuk Faculty of Fisheries Kasetsart University Asst.Prof. Tanuspong Pokavanich Faculty of Fisheries Kasetsart University) 

 

ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสดเสวนาพิเศษสาขาประมง เรื่อง “ปัญญาประดิษฐ์กับการประมงไทย : กลยุทธ์สู่การใช้ประโยชน์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ผ่านระบบ Webex Breakout Session 4 สามารถสแกนคิวอาร์โคดได้จากโปสเตอร์ และช่องทาง Youtube : Nontri Live ตามวันและเวลาดังกล่าว ดูรายละเอียดเพิ่มเติมทาง 

 

https://annualconference.ku.ac.th หรือสอบถามทางอีเมล KUannualconf@gmail.com

 

                             #####

 

คมสัน วิเศษธร / งานสื่อสารองค์กร มก. / 27 ก.พ. 2568