พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ชวนสื่อฯ จิบน้ำชา-กาแฟยามบ่าย “เปิดวิสัยทัศน์ผู้บริหารคนใหม่”

พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จัดกิจกรรมจิบน้ำชา-กาแฟยามบ่าย “โชว์วิสัยทัศน์ผู้บริหารคนใหม่
เผยทิศทางการทำงาน เดินหน้าสนองพระราชปณิธานในหลวงรัชกาลที่ 10 ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด
แนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 ยกระดับพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ พิพิธภัณฑ์มีชีวิต...สู่พิพิธภัณฑ์ ที่สร้างชีวิต ที่มีความทันสมัย สุดล้ำ ด้วยเทคโนโลยี AI พร้อมชูหลักเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ใช้ ให้เกิดอาชีพ รายได้ พัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง ยั่งยืนในอนาคต

วันนี้ (25 มีนาคม 68) พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิม พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นประธานเปิดกิจกรรม “จิบน้ำชา-กาแฟยามบ่ายเปิดวิสัยทัศน์ผู้บริหารพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ คนใหม่” ณ MADO Café @Mado Pavilion พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จัดขึ้นเพื่อกระชับสัมพันธ์อันดีกับสื่อมวลชน พร้อมเปิดวิสัยทัศน์ “ผู้บริหาร” พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ คนใหม่เกี่ยวกับทิศทางการขับเคลื่อนงานของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จากนั้นผู้บริหารได้นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมนิทรรศการโซนปรับปรุงใหม่ อาทิ นิทรรศการ Immersive of Mado Pavilion สีสันใหม่ที่ พิพิธภัณฑ์กษัตริย์เกษตร โซนน้ำคือชีวิต ตะลุยโลก VR กับนิทรรศการ “Virtual Reality Game 1 ไร่ พึ่งตนเอง” ในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวถึง “นโยบายในการทำงานและทิศทางการขับเคลื่อนสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิม
พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) หรือ พกฉ. ว่าจะเน้นเดินหน้า 7 ด้านหลักคือ
1.ดำเนินงานด้วยความถูกต้อง เน้นผลลัพธ์ ผลสัมฤทธิ์ ความคุ้มค่า และโปร่งใส
2.ขานรับนโยบาย พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์และขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการเกษตรสานต่อนโยบายทั้ง 9 ด้านของ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3.พัฒนาด้านการให้บริการ โดยนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง รวดเร็ว และทันต่อความต้องการของผู้รับบริการ
4.พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงาน ในแต่ละด้าน พร้อมพัฒนาเนื้อหาและเทคนิคการนำเสนอให้มีความน่าสนใจ รวมถึงเชื่อมโยงเข้ากับระบบสารสนเทศร่วมกับหน่วยงานที่สำคัญต่างๆ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนภารกิจของ พกฉ.
5. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร
6. พัฒนาการวิจัย โดยเน้นการพัฒนากระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับผู้เข้ามารับบริการ และพัฒนาศักยภาพของนักวิจัย พกฉ. เชื่อมโยงไปกับหน่วยงานภาคีความร่วมมือต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และสุดท้ายให้มีการพัฒนารายได้ ยกระดับการให้บริการด้วยเศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้าและเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุนตลาดสินค้าเกษตรในเชิงเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขวิกฤตสินค้า
ภาคการเกษตร”
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ พระอัจฉริยภาพ และเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 และเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนคนไทยทั้งชาติ เป็นพื้นที่ ให้ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้มาสักการะแสดงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน
โดยจัดสร้างพระบรมราชานุเสาวรีย์
ขนาดความสูง 1.5 เท่าของคนจริงสูง 268 เซนติเมตร ความกว้างฐาน 90 เซนติเมตร
พร้อมเตรียมเปิดให้บริการห้องสมุด
Wisdomking E-Library ห้องสมุดเฉพาะทางที่รวบรวมองค์ความรู้ บทความต่างๆ ผลงานวิจัยทางด้านการเกษตรไว้ในที่เดียว พร้อมระบบยืม-คืนหนังสือผ่านช่องทางออนไลน์แบบครบวงจร รวมถึงมีบริการ E-Book ให้ดาวน์โหลด ผ่านทาง Mobile Application / WKM E-Library ในเร็วๆนี้อีกด้วย
#####
พันจ่าเอก ประเสริฐ ยังได้เผยถึงแผนการดำเนินงานและกิจกรรมที่น่าสนใจในปีนี้และในอนาคต ด้วยว่า มีแผนพัฒนาพิพิธภัณฑ์การเกษตรในหลายด้านเพื่อให้มีความทันสมัยและเหมาะสมกับสถานการณ์มากยิ่งขึ้น
โดยจะมีการปรับโฉมฐานเรียนรู้ 5 โซน ประกอบด้วย
1.นิทรรศการ Immersive of Mado Pavilion สีสันใหม่ที่ พิพิธภัณฑ์กษัตริย์เกษตร เปิดประสบการณ์เต็มรูปแบบ ด้วย Projection Mapping ที่จะทำให้รู้จัก
กับพิพิธภัณฑ์การเกษตร ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงอนาคตภายในพิพิธภัณฑ์กษัตริย์เกษตร 2.นิทรรศการโซนตามรอยพ่อ อยู่อย่างพอเพียง : พาไปทำความรู้จักกับคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง และต้นแบบแห่งความพอเพียง “พอ” แบบไหนคือพอเพียง
3.นิทรรศการโซนน้ำคือชีวิต ถ่ายทอดเรื่องราวของการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ร้อยเรียงตั้งแต่ ความสำคัญของน้ำ พระอัจฉริยภาพของกษัตริย์เกษตร ในด้านการจัดการน้ำ และวิธีอนุรักษ์น้ำ
4.นิทรรศการโซนหัวใจใฝ่เกษตร “Virtual Reality Game 1 ไร่ พึ่งตนเอง” พาไปลงมือทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบเสมือนจริง Virtual Reality game ภายในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา
5.นิทรรศการ จากเส้นด้ายสู่ลายผ้า พาไปรู้จักกับมรดกทางวัฒนธรรมอย่าง ผ้าในรูปแบบต่างๆ ผ้าทอพื้นบ้าน ผ้าปูม ผ้าซิ่นตีนจก ผ้าปรกหัวนาค ผ้ายกดอกเกาะยอ เป็นต้น รวมถึงเรื่อราวของเครื่องจักสาน อันเป็นอัตลักษณ์วัฒนธรรมการเกษตรของไทย ภายในพิพิธภัณฑ์เกษตรคือชีวิต
นอกจากนี้ยังมีแผนยกระดับการจัดงานมหกรรม นิทรรศการหมุนเวียน และตลาดเศรษฐกิจพอเพียง โดยปกตินอกจากการจัดงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว จะมีการจัดงานมหกรรม 4 งานใหญ่ในทุกปี ที่ให้ทุกท่านได้มาเรียนรู้พระเกียรติคุณ และพระอัจฉริยภาพกษัตริย์เกษตร ไม่ว่าจะเป็นงาน มหกรรม
จากพันธุกรรมสู่ความยั่งยืน ในเดือนเมษายน (ช่วงระหวางวันที่ 4-6 เมษายน 2568 ) ซึ่งตรงกับเดือนพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และมหกรรมสืบสานงานพ่อพัฒนาส่งต่ออาชีพที่ยั่งยืน
ในเดือนกรกฎาคม (ช่วงระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ) มกรรม ในความทรงจำ ในเดือนตุลาคม 2568 ที่ตรงกับวันคล้ายวันสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 9 และในเดือนธันวาคม ที่เป็นงาน มหกรรมภูมิพลังแผ่นดิน และ
สำหรับในปี 2569 จะเพิ่มขึ้นอีก 2 งาน คือในเดือนมิถุนายน ซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี และเดือนสิงหาคมซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
รวมทั้งมีแผนขับเคลื่อนงานร่วมกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ในปี 2568 มีเป้าหมายเปิดศูนย์ การเรียนรู้ฯ เพิ่มอีก 5 แห่ง (ดำเนินการไปแล้ว 2 แห่งคือระยอง และแพร่) เพื่อเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ให้กับประชาชน พื้นที่ใกล้เคียงเข้าไปศึกษาเรียนรู้และประยุกต์ให้เหมาะสมกับตนเอง
รวมทั้งสร้างและพัฒนาผู้สืบทอดเกษตรกรรุ่นใหม่ที่สามารถนำองค์ความรู้ วิถีเกษตรไทย ผนวกกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมภาคการเกษตรไปต่อยอด และพัฒนาเป็นการเกษตรแบบยั่งยืนจากปัจจุบันมีอยู่แล้ว 98 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังมีโครงการสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้น คือ โครงการอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
